ประวัติความเป็นมา
ตำบลหล่อยูง เกี่ยวกับที่มาของตำบลหล่อยูงนั้นคนเฒ่าคนแก่ พื้นที่แห่งนี้เต็มไปด้วยต้นหล่อ ซึ่งเป็นไม้เนื้ออ่อนบางจากใบหล่อสามารถนำมารักษาโรคซางที่เกิดกับเด็กได้และสมัยก่อนบริเวณนี้มีการทำนาอย่างแพร่หลาย ซึ่งให้บังเอิญว่าต้นหล่อต้นหนึ่งยืนต้นอยู่ข้างชายนา นกยูงซึ่งลงมากินข้าวช่วงข้าวออกรวง บินขึ้นไปเกาะบนต้นหล่อ ชาวบ้านที่ทำงานอยู่แถวนั้นเห็นเข้าก็ชี้ชวนกันดูนกยูงบนต้นหล่อ เรียกไปเรียกมาเพี้ยนเป็นหล่อยูงจนถึงทุกวันนี้
กศน.ตำบลหล่อยูง ตั้งอยู่ ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหล่อยูง ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการจัดการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 จัดการเรียนการสอน ผู้ไม่รู้หนังสือ เพื่อให้อ่านออกเขียนได้ การศึกษาในระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย การศึกษาต่อเนื่องการศึกษาเพื่อการมีงานทำ การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน การศึกษาตามอัธยาศัย โดยจัดให้มีบ้านหนังสืออัจฉริยะในชุมชน การจัดตั้ง กศน.ตำบล มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการเรียนรู้ ที่หลากหลายตามความต้องการของผู้เรียน เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับผู้สนใจและประชาชนในชุมชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
ขนาดพื้นที่ ที่ตั้งอาณาเขตติต่อ
ตำบลหล่อยูง เป็นตำบลหนึ่งในเขตอำเภอตะกั่วทุ่ง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอระยะทางห่างจากอำเภอประมาณ 20 กิโลเมตร มีหมู่บ้านทั้งหมด 10 หมู่บ้าน คือ
หมู่ที่ 1 บ้านหล่อยูง
หมู่ที่ 2 บ้านบางปลา
หมู่ที่ 3 บ้านนา
หมู่ที่ 4 บ้านทองหลาง
หมู่ที่ 5 บ้านควน
หมู่ที่ 6 บ้านแหลมหิน
หมู่ที่ 7 บ้านบางจัน
หมู่ที่ 8 บ้านในหยง
หมู่ที่ 9 บ้านบากัน
หมู่ที่ 10 บ้านหล่อยูงตะวันออก
สภาพทางสังคม
1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดนากลาง หมู่ที่ ๑ บ้านหล่อยูง ตำบลหล่อยูง
อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทองหลาง หมู่ที่ ๔ บ้านทองหลาง ตำบลหล่อยูง
อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
2.โรงเรียนของรัฐ จำนวน 7 แห่ง ได้แก่
– โรงเรียนวัดนากลางมิตรภาพที่ 163
– โรงเรียนบ้านทองหลาง
– โรงเรียนบ้านควน
– โรงเรียนบ้านแหลมหิน
– โรงเรียนบ้านบางจัน
– โรงเรียนบ้านในหยง
– โรงเรียนบ้านบากัน
สภาพเศรษฐกิจ
1. อาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่ในเขตตำบลหล่อยูง ประกอบอาชีพทางการเกษตรทำการประมงเป็นอาชีพรอง และมีการค้าขายและรับจ้างทั่วไปซึ่งมีอยู่ไม่มากนัก โดยแบ่งออกได้ดังนี้
ทำสวนยางพารา ประมาณ 80 %
ทำการประมงชายฝั่งและประมงน้ำจืด ประมาณ 15 %
ค้าขายและรับจ้างทั่วไป ประมาณ 5 %
2.รายละเอียดพื้นที่การเกษตรและพืชเศรษฐกิจของตำบลหล่อยูง ดังนี้
พื้นที่ตำบลหล่อยูง จำนวน 59,375 ไร่ หรือ 95.00 ตารางกิโลเมตร
พื้นที่การเกษตร จำนวน 39,117 ไร่ หรือ 62.69 ตารางกิโลเมตร